สิ่งแรกคือต้องมีคือเว็บเซิร์บเวอร์ โปรแกรมที่นิยมใช้กันมากและดูมีมาตรฐานหลายตัวแต่ที่อยากแนะนำให้ใช้คือ XAMPP ดังนั้นต้องติดตั้งโปรแกรมนี้ก่อน
ติดตั้ง Laravel ผ่าน Composer
ในระหว่างติดตั้ง Composer จะมีขั้นตอนหนึ่งที่ให้เลือกไฟล์ php.exe ซึ่งไฟล์นี้มีอยู่แล้วหลังจากได้ติดตั้ง XAMPP ให้ไปยังไดเร็กทรอรี่ที่มีไฟล์ php.exe

รูป 1 การติดตั้ง Compser
หลังจากติดตั้งเสร็จก็พร้อมที่จะใช้งาน ลาราเวล ผ่าน CLI โดยมีลำดับคือ
- เลือกพื้นที่จะสร้างเว็บแอปพลิเคชัน
- สร้าง โฟลเดอร์ที่ใช้เก็บเว็บแอปพลิเคชัน ลาราเวล เช่น สมมุติให้ชื่อ โฟลเดอร์คือ myWebApp
- เมื่อสร้างโฟลเดอร์แล้วให้เข้าไปยังโฟลเดอร์ผ่าน CLI
- ใช้คำสั่งของ Composer สร้างเว็บ ลาราเวล
- เปิดเว็บเซิร์บเวอร์ของ ลาราเวล
และทั้งหมดเขียนเป็นตัวอย่างตาม CLI 1.
> D:
> mkdir myWebApp
> cd myWebApp
> composer create-project Laravel/Laravel example-app
> cd example-app
> php artisan serve
เมื่อทั้งหมดได้ทำงานสมบูรณ์แล้ว จะมีคำสั่งแจ้งให้เปิดหน้าเว็บ โดยไปยัง URL : 127.0.0.1:8000

รูป 2 ผลการทำงานหน้าแรกของ ลาราเวล
Visual Studio Code (VS Code)
สำหรับตัวพิมพ์โปรแกรมที่น่าใช้งานตัวหนึ่งคือ VS Code ตัวนี้ใช้งานได้ฟรี มี Terminal เพื่องาน CLI ตัวอย่างการ CLI ที่ทำก่อนหน้านี้ สามารถใช้งานได้ตรงกันกับหน้าต่าง Terminal
สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งตาม URL: https://code.visualstudio.com/

รูป 3 การเปิดทำงานของ ลาราเวล ผ่านหน้าต่าง Terminal
นำลาราเวลไปใช้งานบนเซิร์บเวอร์
ก่อนลงไฟล์ลาราเวลลงเซิร์เวอร์ สิ่งควรทำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน อย่างแรกคือ ให้ทำการรวมคำสั่งเกี่ยวกับการลงทะเบียนเส้นทางให้เป็นฟังก์ชันเดียวกัน ต่อมาล้างการคอมไพล์ที่เกิดขึ้นกับ View
> php artisan route:clear
> php artisan view:clear
การอัฟโหลด (upload) ไฟล์ทั้งหมดของลาราเวลไปใช้งานบนเว็บเซิร์บเวอร์ มีหลายวิธี แต่วิธีที่ง่าย คือการแยกโฟลเดอร์ออกเป็นสองโฟลเดอร์ คือ
- example
- example-hide
โดยที่โฟลเดอร์ example (ตั้งชื่อตามใจชอบได้) คือเก็บเฉพะข้อมูลในโฟลเดอร์ public และโฟลเดอร์ example-hide ให้ทุกอย่างที่สร้างในลาราเวลไว้ ยกเว้นโฟลเดอร์ public
ต่อมาทำการแก้ไขไฟล์ index.php ที่อยู่ในโฟลเดอร์ example (เดิมเป็น public) เพียงสองบรรทัด
require __DIR__.'/../example-hide/vendor/autoload.php';
$app = require_once __DIR__.'/../example-hide/bootstrap/app.php';
ขั้นตอนต่อไป ให้อัฟโหลด ทั้งสองโฟลเดอร์ ดังนั้น URI: example โดยกรณีนี้ต้องการให้ URL อยู่ในใต้ชื่อ example ตัวอย่าง URL: http://www.domainname.com/example แต่ถ้าต้องการให้ ระบบไฟล์ไม่อยู่ภายใต้ชื่ออะไร หรือ อยู่ที่รากของโดเมนเนมเลย ก็ให้อัฟโหลดเฉพาะข้อมูลทั้งหมดในโฟลเดอร์ example ไว้ที่รากของโดเมนเนมได้เลย
นอกจากนี้ถ้าต้องการจะปิดบังข้อมูลทั้งหมดของโฟลเดอร์ example-hide ให้อัฟโหลดไว้ในเขตแดนที่่ผู้ใช้ไม่มีสิทธิ์เข้าถึง ตัวอย่างเข่น การใช้กับเว็บเซิร์บเวอร์ ที่กำหนดให้ public_html เป็นที่เก็บเว็บไซต์ ก็ให้เอาโฟลเดอร์ example-hide ไว้นอกโฟลเดอร์ public_html และต้องกำหนดเส้นทางการเข้าถึงโฟลเดอร์ในไฟล index.php เสียใหม่ด้วย
ปัญหาการอัฟโหลดไฟล์อย่างหนึ่งที่มักพบ จากไฟล์จำนวนมากมักจะอัฟโหลดนาน และบางที่ก็อัฟโหลดไม่ครบทั้งหมด จึงควรอัฟโหลดเป็นประเภทบีบอัดข้อมูล เช่น .zip ไฟล์ แล้วค่อยไปแตกไฟล์ที่เซิร์บเวอร์ โฮสท์หรือเครื่องเซิร์บเวอร์ บางตัวก็มี File Manager ให้ใช้งาน บางโฮสท์ก็ไม่มี จึงต้องหาตัวช่วย เช่น ไฟล์หน้าอัฟโหลดประเภทบีบอัดและแตกไฟล์ที่โฮสท์ได้